ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอเวียงป่าเป้าตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอแม่สรวยและอำเภอพาน
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอวังเหนือ (จังหวัดลำปาง)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองปาน (จังหวัดลำปาง) และอำเภอดอยสะเก็ด (จังหวัดเชียงใหม่)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอพร้าว (จังหวัดเชียงใหม่)
ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพภูมิอากาศของอำเภอเวียงป่าเป้า แบ่งเป็น 3 ฤดู
- ฤดูร้อน ระหว่างเดือน มีนาคม – พฤษภาคม อากาศร้อนจัดในเดือนเมษายน อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 20 – 40 องศาเซลเซียส
- ฤดูฝน ระหว่างเดือน มิถุนายน – ตุลาคม ฝนตกชุกในเดือนสิงหาคม มักจะมีน้ำป่าไหลหลาก อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 15 – 30 องศาเซลเซียส
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือน พฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ อากาศหนาวจัดในเดือนธันวาคมอุณหภูมิอยู่ระหว่าง -2 – 25 องศาเซลเซียส บนยอดดอยจะมีน้ำค้างแข็งได้
[ซ่อน]ข้อมูลภูมิอากาศของอำเภอเวียงป่าเป้า | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
เดือน | ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | ทั้งปี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) | 27.6 (81.7) | 30.9 (87.6) | 33.5 (92.3) | 34.9 (94.8) | 33.2 (91.8) | 31.7 (89.1) | 30.9 (87.6) | 30.6 (87.1) | 30.6 (87.1) | 29.8 (85.6) | 28.2 (82.8) | 26.5 (79.7) | 30.7 (87.3) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) | 18.9 (66) | 21.1 (70) | 24.1 (75.4) | 26.8 (80.2) | 27.0 (80.6) | 26.8 (80.2) | 26.4 (79.5) | 26.1 (79) | 25.8 (78.4) | 24.5 (76.1) | 22.0 (71.6) | 18.8 (65.8) | 24.0 (75.2) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) | 11.9 (53.4) | 12.9 (55.2) | 15.9 (60.6) | 19.7 (67.5) | 22.0 (71.6) | 22.9 (73.2) | 22.8 (73) | 22.6 (72.7) | 22.0 (71.6) | 20.3 (68.5) | 17.0 (62.6) | 12.8 (55) | 18.6 (65.5) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) | 12.2 (0.48) | 7.8 (0.307) | 19.1 (0.752) | 89.8 (3.535) | 203.9 (8.028) | 211.2 (8.315) | 308.2 (12.134) | 385.4 (15.173) | 268.4 (10.567) | 142.4 (5.606) | 60.5 (2.382) | 24.6 (0.969) | 1,733.5 (68.248) | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย | 2 | 1 | 3 | 10 | 17 | 19 | 22 | 24 | 18 | 12 | 6 | 3 | 137 | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งที่มา1: Thai Meteorological Department[3] | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งที่มา 2: Hong Kong Observatory [4]การแบ่งเขตการปกครองการปกครองส่วนภูมิภาค
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอเวียงป่าเป้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง ได้แก่
ลักษณะประชากร
ด้านชาติพันธุ์ ชาวพื้นเมืองได้อพยพมาจากจังหวัดเชียงใหม่ ช่วงที่เกิดกบฏเงี้ยวมีทั้งไทยยวนและ ไทยยองประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพื้นเมือง มีประมาณ 60,000 คน และมีชาวเขาเผ่าม้ง ลาหู่(มูเซอร์) ลีซอ และกะเหรี่ยง ประมาณ 15,000 คน โดยเฉพาะเผ่ามูเซอร์มีมากที่สุด เดิมทีได้อพยพมาจากมณฑลยูนาน, เสฉวน, กวางสี แล้วถูกจีนรุกราน เคลื่อนย้ายมาสู่รัฐเชียงตุง รัฐฉานของพม่า และลาว แล้วทยอยเข้ามาสู่ไทยหลายระลอก ปัจจุบันทำให้เกิดปัญหายาเสพติด และไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน ปัจจุบันได้มีประชาชนจากภาคอีสานได้มาซื้อที่ดินบริเวณรอบ ๆ อำเภอเวียงป่าเป้า ที่เป็นป่าเสื่อมโทรม มาปลูกสร้างบ้านเรือนและประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ทำสวน ปลูกข้าว บางหมู่บ้านเป็นคนอีสานทั้งหมู่บ้าน และมีนายทุนมากว้านซื้อที่ดินและมาอาศัยอยู่ก็มีมาก
สังคมวัฒนธรรม
ประชากรส่วนมากเป็นชาวพื้นเมือง ที่อพยพมาจาก จังหวัดลำปาง จังหวัดเชียงใหม่ (ไทยวน) จังหวัดลำพูน (ไทยอง) ประมาณร้อยละ 75 นอกนั้นเป็น ชาวเขา เช่น ปกากะญอ(กะเหรี่ยง) ม้ง เย้า อาข่า มูเซอดำ ลีซอ ศาสนาที่นับถือกันคือ ศาสนาพุทธ รองลงมาเป็นคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก และโปแตสแตนต์ ประเพณีที่สำคัญทางพุทธศาสนาก็คือ ประเพณีตานก๋วยสลาก ปอยหลวง สรงน้ำพระธาตุต่าง ๆ จะมีขึ้นในวันเพ็ญเดือน 6 ส่วนประเพณีท้องถิ่นจะมีก่อนวันเพ็ญเดือน 7 ประมาณ 1-2 วัน เช่น การลงผีมด ( เป็นการเข้าทรงของเทวาอารักษ์ประจำหมู่บ้าน) การฟ้อนผีเม็ง ( เป็นการเข้าทรงของเทวาอารักษ์ที่อาศัยอยู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ) การไหว้ผีปู่ย่า ( ผีบรรพบุรุษ ) ส่วนวัฒนธรรมในการดำรงชีพ เช่น การกิน การอยู่อาศัย มีลักษณะคล้ายคลึงกันทั่วไปในภาคเหนือล้านนา
มีการก่อสร้างมัสยิดในเขตตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ทั้ง ๆ ที่ไม่มีศาสนิก ชุมชนมุสลิม หรือสัปบุรุษในพื้นที่เลยสร้างความไม่พอใจแก่กลุ่มชาวบ้าน และเกิดการต่อต้านจากกลุ่มชาวพุทธในพื้นที่
เศรษฐกิจ
อาชีพราษฎรส่วนใหญ่ ทำการเกษตรกรรม มีพื้นที่นาประมาณ 39,347 ไร่ ที่ไร่ ประมาณ 28,500 ไร่ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้ามีเพียงเล็กน้อย แต่จะมี โรงสีข้างอยู่จำนวนมากบริเวณบ้านหม้อ ตำบลป่างิ้ว ส่วนมากจะรับจ้างสีข้าวส่งที่จังหวัดเชียงใหม่ โรงงานผสมปูนซีเมนต์สำเร็จรูปและผสมยางแอสฟั้นส์ กับหินละเอียด ตั้งอยู่เขตตำบลเวียงกาหลง มีการใช้น้ำมันเตาในการเผายางแอสฟั้นส์(ยางมะตอย)ในการทำยางผสมแอสฟั้นส์ติก เพื่อใช้ในการก่อสร้างถนน ส่วนพืชไร่ที่สำคัญ คือ ขิง จะมีโรงงานดองขิง บริษัท ชวี่ เฉวียน ฟูดส์ จำกัด ตั้งอยู่บริเวณตำบล เวียงกาหลง ซึ่งได้ส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ทำรายได้ให้แก่ราษฎรปีละประมาณ 100 ล้านบาท โรงงานดองผักกาดดอง ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของอำเภอ ส่วนพืชชนิดอื่น เช่น กะหล่ำปีจะปลูกมากบนที่ราบสูงโดยเฉพาะชาวเขาได้ทำการปลูกจำนวนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุของการทำไร่เลื่อนลอย ถางและเผาป่า ใบชาเมี่ยงก็ปลูกกันมากบริเวณหุบเขาผีปันน้ำ เพราะอากาศเย็นตลอดปี มีจำหน่ายในตลาดบ้านแม่ขะจาน โดยเฉพาะใบชาตราแม่ค้าที่ขึ้นชื่อด้านรสชาติ อาชีพการเพาะเห็ดเป็นอาชีพอีกอาชีพหนึ่งที่ทำรายได้ให้เกษตรกรกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเห็ดฟาง ( จะเริ่มทำการ เพาะเห็ด ประมาณเดือน กุมภาพันธ์ – ตุลาคม ) เห็ดแชมปิยอง ( ระเริ่มทำการเพาะเห็ดประมาณเดือน ตุลาคม – กุมภาพันธ์ เพราะเห็ดชนิดนี้ชอบอากาศเย็นในการออกผลผลิต ) ส่วนเห็ดที่สามารถทำการเพาะได้ตลอดปี คือ เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า นางรม เห็ด แต่ก็มีการเพาะเห็ดเป๋าฮื้อเหมือนกัน แต่มีไม่มาก สำหรับตลาดที่รับซื้อที่สำคัญคือ โครงการหลวงดอยคำ อำเภอฝาง บริษัทส่งออกเห็ดแปรรูป นิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูนโรงงาน UFC จังหวัดลำปาง และส่งขายปลีกให้แก่แม่ค้าภายในอำเภอเพื่อจำหน่ายแก่ประชาชนทั่วไป
|